สารบัญ (Contents)
- หลักการ Aging-In-Place Design นี้จะมีประโยชน์ต่อคุณมาก ถ้าคุณคือ
- สำหรับ Aging in place แล้ว หัวข้อที่ต้องนำมาพิจารณาคือ
- 1. ภายนอกบ้าน(Exterior)
- 2. การวางแผนทำพื้นบ้าน
- 3. ห้องที่อยู่ด้านหน้าบ้านที่มีประตูไปสู่ห้องอื่นๆ (Hallway)
- 4. ธรณีประตู
- 5. หน้าต่าง
- 6. ที่จอดรถ
- 7. ก็อกน้ำ
- 8. เคาน์เตอร์
- 9. อุปกรณ์เครื่องใช้ไม้สอย
- 10. ห้องอาบน้ำ
- 11. บริเวณบันได และลิฟท์
- 12. ห้องเก็บของ
- 13. ระบบไฟฟ้า ระบบไฟส่องสว่าง และความปลอดภัย
- 14. พื้น
- 15. ระบบทำความร้อน การระบายอากาศ และระบบปรับอากาศ
- 16. ระบบประหยัดพลังงาน
- 17. ลดการบำรุงรักษา และการใช้งานได้ง่าย สะดวกสบาย
- 18. แนวคิดอื่นๆ
- Share this:
- Related
Aging-In-Place Design หมายถึง แนวทางการออกแบบสร้างที่อยู่อาศัย ให้ผู้สูงอายุในรูปแบบที่ ให้ผู้สูงอายุสามารถอยู่อาศัยในบ้านของตนเองได้ อย่าง ยาวนานยิ่งขึ้น ทำให้ไม่ต้องถูกส่งไปอยู่ในสถานที่ที่จัดไว้ให้ผู้สูงอายุ ที่ไม่ใช่บ้านของตนเอง เช่น โรงพยาบาล สถานรับเลี้ยงคนชรา แบบ Day care หรือ Nursing home เป็นต้น โดยหลักการ จะออกแบบเน้นในเรื่อง ความสะดวกสบาย ความปลอดภัยของผู้สูงอายุที่อยู่อาศัย
หลักการ Aging-In-Place Design นี้จะมีประโยชน์ต่อคุณมาก ถ้าคุณคือ
- ผู้สร้างบ้าน เพื่อขายให้แก่ลูกค้า ที่เป็นผู้สูงอายุ
- เจ้าของบ้าน ที่ต้องการปรับปรุงบ้านตนเอง ที่มีอยู่แล้ว ให้รองรับการอยู่อาศัย แบบเพื่อผู้สูงอายุ เมื่อตนเองสูงอายุมากขึ้น
- เจ้าของบ้าน ที่ต้องการสร้างบ้าน ตนเองใหม่ ให้รองรับ การอยู่อาศัย แบบผู้สูงอายุ เมื่อตนเองสูงอายุมากขึ้น
- คุณต้องตรวจเช็คสิ่งเหล่านี้ เพื่อความสมบูรณ์ ในการได้บ้าน ที่เป็นแบบเพื่อผู้สูงอายุ
สำหรับ Aging in place แล้ว หัวข้อที่ต้องนำมาพิจารณาคือ
1. ภายนอกบ้าน(Exterior)
- ใช้วัสดุภายนอก ที่ไม่ต้องการการดูแลรักษามากนัก เช่น ใช้อุปกรณ์เคลือบไวนีล เช่น หลังคาไวนีล ผนังบ้านไวนีล หรือ ใช้อุปกรณ์ที่ทำจากอิฐ (Brick)
- ปลูกต้นไม้ ที่ไม่ต้องการการดูแลรักษามาก เช่น ปูพื้นสนามด้วยพืชสนามรุ่นใหม่ที่ไม่ต้องบำรุงรักษามาก เช่น ไม่ต้องตัด อย่างต้นถั่วลิสงเถา หรือต้น kidney weed เป็นต้น
- พื้นของระเบียง หรือนอกชาน ต้องไม่ต่างระดับจากพื้นบ้านด้านในมากจนเกินไป (ไม่เกิน 0.5 นิ้ว) เพื่อป้องกันการหกล้ม หรือการก้าวข้ามที่ลำบาก
2. การวางแผนทำพื้นบ้าน
- พื้นที่ใช้สอยหลัก และพื้นที่ใช้สอยส่วนใหญ่ จะอยู่ที่ชั้นล่างสุดของบ้าน (คนสูงอายุมักจะไม่สะดวก ที่จะขึ้นลงบันไดบ้านหลายๆ ชั้น) ในพื้นที่ใช้สอยหลัก จะต้องมีห้องอาบน้ำ และห้องส้วมหลัก อยู่ในชั้นนั้นด้วย
- จะต้องไม่มี ความต่างระดับกันของพื้นในแต่ละห้อง หรือพื้นที่ใช้สอยอื่นๆ ที่อยู่ในชั้นเดียวกัน
- มีพื้นที่อย่างน้อย 5 x 5 ฟุต ในแต่ละห้องพื้นที่ใช้สอย เช่น ห้องนั่งเล่น ห้องครัว ห้องนอน และห้องน้ำ เพื่อใช้ในการหมุน กลับตัวของผู้สูงอายุ
3. ห้องที่อยู่ด้านหน้าบ้านที่มีประตูไปสู่ห้องอื่นๆ (Hallway)
- ประตูควรกว้างอย่างน้อย หรือมากกว่า 36 นิ้ว (3 ฟุต)
- ควรมีแสงสว่างอย่างเพียงพอชัดเจน ทางเข้าบ้าน
- มีช่องทางเดินที่ง่าย แก่การเข้าสู่ตัวบ้าน
- มีช่องทางเข้าสู่ตัวบ้าน อย่างน้อยหนึ่งช่องทาง ที่ไม่มีความต่างระดับ และมีหลังคากันฝนและแดดด้วย
- มีไฟส่องสว่าง ระบบ sensor ที่ช่องทางเดินเข้าบ้าน ที่ไม่ต่างระดับ โดยแสงไฟจะเน้นที่ ประตูทางเข้าบ้าน และที่ปิดล็อคประตู
- ช่องทางเดิน ควรกว้างอย่างน้อย 32 นิ้ว ในขณะที่ประตูทางเข้าบ้านขนาดกว้างอย่างน้อย 36 นิ้ว
- มีพื้นห้องโถง ที่ไม่ลื่น หรือง่ายต่อการลื่นล้ม
- แสงไฟส่องสว่าง ที่ประตูและที่บริเวณ การมองเห็นของรูแอบมองจากด้านในประตู ควรจะให้ทั้งความเป็นส่วนตัว และคำนึงถึงความปลอดภัยด้วย
- กระดิ่งที่ประตู ควรอยู่ในตำแหน่งที่เห็น และเข้าถึงได้ง่าย
- มีพื้นที่สำหรับวางของ ในขณะที่กำลังจะเปิดประตูด้วย
4. ธรณีประตู
- ไม่มีได้ยิ่งดีมาก (คือไม่ควรมี)
- ถ้าจะมีธรณีประตูด้านนอก ควรสูงไม่เกิน 0.5 นิ้ว และทำขอบลาดเอียง
- ถ้าจะมีธรณีประตูด้านใน ควรสูงไม่เกิน 0.25 นิ้ว และทำขอบลาดเอียง
- ประตูด้านใน ควรใช้ประตู ขนาดความกว้างอย่างน้อย 36 นิ้ว ที่จะทำให้มีความกว้าง ในทางเดินประมาณ 32 นิ้ว
- ควรเป็น ประตูบานสวิง
- ที่เปิดประตู ควรเป็นแบบก้าน
5. หน้าต่าง
- ควรมีหน้าต่างมากๆ เพื่อให้แสงตามธรรมชาติ ส่องเข้ามาในบ้านได้มากพอ เพื่อประหยัดไฟฟ้า และเพิ่มทัศนะวิสัยในการมองเห็น
- หน้าต่างสูงหรือเตี้ยก็ได้ แต่ควรมีฐานของหน้าต่าง ไม่สูงเกินไป
- ควรเป็นหน้าต่าง ที่ใช้วัสดุ ที่ไม่ต้องการการดูแลรักษามากนัก
- ควรเป็นหน้าต่าง ที่ใช้งานง่าย
6. ที่จอดรถ
- ควรเป็นที่จอดรถ ที่มีหลังคา
- ควรมีขนาดกว้างใหญ่ กว่าที่จอดรถทั่วไป
- ประตูโรงจอดรถ ควรสูงกว่า 9 ฟุต เผื่อไว้สำหรับรถตู้ ที่มีหลังคาสูง (โรงจอดรถของต่างประเทศ มักเป็นแบบมีประตูปิดได้ แต่ที่เมืองไทยมักไม่นิยม
- ควรมีหลังคากันแดดฝนได้ก็เพียงพอแล้ว
- มีช่องทางเดิน ระหว่างรถสองคัน ที่จอดอยู่ในโรงรถ กว้างอย่างน้อย 5 ฟุต
- โรงรถที่ติดกับตัวบ้าน พื้นโรงรถควรต่ำกว่าประตู ทางเข้าบ้าน เพื่อป้องกัน ฝุ่นควันฟุ้งกระจายเข้าตัวบ้าน และพื้นควรจะค่อยๆ เอียงลาดเล็กน้อย จากหน้าไปหลัง เพื่อลดการมีทางลาดเอียงมากๆ หรือขั้นบันได (ในกรณีที่มีความต่างระดับของพื้น)
- ควรมีที่สำหรับมือจับยึด ถ้าโรงรถ มี Step หรือขั้นบันได หรือความต่างระดับของพื้น
7. ก็อกน้ำ
- ควรเป็นก๊อกแบบโยก หรือแบบควบคุมด้วยเท้า
- ถ้ามีก็อกน้ำร้อน ควรมีระบบควบคุมความร้อนของน้ำ หรือระบบควบคุมการลวกมือ
- ควรเป็นก๊อกน้ำ ที่ควบคุมความดันน้ำให้สมดุล (Pressure balanced faucets)
8. เคาน์เตอร์
- มีผนังที่เตรียมการไว้สำหรับการวางตู้ ในขนาดความสูงของตู้ต่างๆ กัน
- ตู้ติดผนังควรติดที่ระดับต่ำกว่าการติดในบ้านทั่วๆ ไป สัก 3 นิ้ว
- ติดขอบส่วนบนของเคาน์เตอร์ ด้วยอุปกรณ์ หรือแถบสี ที่สร้างความชัดเจน ในการมองเห็น เพื่อการมองเห็น ที่ชัดเจนในขณะทำกิจกรรมต่างๆ ภายในครัว งานที่เคาน์เตอร์ในครัว -มีพื้นที่เคาน์เตอร์ สำหรับวางจาน ใกล้ๆ หรือ ที่ที่สามารถหยิบใช้ได้สะดวกมากๆ
- มีตู้ล่างที่มีลิ้นชักดึงออกมาได้ และมี lazy susan สำหรับเพิ่มความสะดวกในการใช้งานต่างๆ
- มี Pull-down shelving (ชั้นที่สามารถดึงลงมาได้)
- ตู้ที่มีประตูเปิดปิด ควรมีหน้าตู้ ที่เป็นกระจก ที่สามารถมองเข้าไปเห็นสิ่งของภายในได้
- มีชั้นที่ไม่มีฝาปิด สำหรับวางของที่ใช้บ่อยๆ
9. อุปกรณ์เครื่องใช้ไม้สอย
- ควรเป็นอุปกรณ์ที่ง่าย แก่การอ่านคำแนะนำการใช้ ระบบการควบคุมเครื่องใช้นั้นๆ
- เครื่องซักผ้าหรือเครื่องอบแห้งผ้า ควรยกสูงกว่าพื้น ประมาณ 12-15 นิ้ว
- เครื่องซักผ้าควรเป็นแบบ ใส่ผ้าหน้าตู้
- ตู้อบไมโครเวฟ ควรวางอยู่บนเคาน์เตอร์ หรือฝังในผนัง
- ตู้เย็นควรเป็นแบบสองประตู
- ตู้อบควรเป็นแบบ ประตูบานสวิงออก หรือตู้อบในผนัง
- มีเครื่องล้างจาน ยกจากพื้น และมีปุ่มกดควบคุมการทำงาน
- มีเตาหุงต้มแบบไฟฟ้า ที่มีระบบควบคุมความร้อนด้านหน้า และมีแสงสีแสดงความร้อน เพื่อป้องกันอันตราย จากความร้อน ถ้าเตายังร้อนอยู่
- มีพื้นที่ว่างสำหรับใช้สอย บนเคาน์เตอร์ ขนาดพื้นที่ประมาณอย่างน้อย 30×48 นิ้ว
- มีพื้นที่ว่างในครัว ใช้ในการหมุนตัวกลับง่ายๆ ขนาดอย่างน้อย ประมาณ 5×5 ฟุต
- มีพื้นที่ว่างใต้เคาน์เตอร์ เก็บเก้าอี้สำหรับนั่งเวลาทำงาน ดึงออกมาใช้งานได้ เวลาจะใช้งาน
- มีอุปกรณ์ให้แสงสว่าง อย่างเพียงพอในพื้นที่ใช้งาน
- มีมือจับ ที่เป็นแบบ ลูป (Loop) เพื่อให้ง่ายแก่การจับดึง
- ก๊อกน้ำเป็นแบบ คันโยกมือ และพ่นน้ำออกมาเป็นสเปรย์
- สำหรับบ้านที่มีหลายชั้น อาจจะมีช่องในห้องนอนหลักชั้นบน สำหรับทิ้งเสื้อผ้าใช้แล้ว ลงมาที่ห้องซักล้าง
10. ห้องอาบน้ำ
- มีผนังสำหรับติดตั้งเคาน์เตอร์ ที่มีตู้เล็กๆ อยู่ฐานของเคาน์เตอร์
- เคาน์เตอร์มีขอบบน ที่มีสีหรือสิ่งแสดงความชัดเจน เห็นได้ง่าย เพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่จะเกิดกับผู้สูงอายุ ในห้องน้ำ จากการมองเห็นที่ไม่ชัดเจน
- มีห้องอาบน้ำ ที่สามารถเอารถเข็น wheelchair เข็นเข้าไปข้างในได้ อย่างน้อยหนึ่งห้อง ในชั้นหลักของบ้าน (ซึ่งส่วนใหญ่ก็คือ ชั้นล่างสุดของบ้าน) โดยมีรัศมีการหมุนตัวของรถขนาด 60 นิ้ว หรือมี T-turn space ขนาด 36 x 36 นิ้ว หรือมีพื้นที่ว่างในห้องน้ำอย่างน้อย 30 x 48 นิ้ว
- มีการติดตั้งมือจับสำหรับจับ ที่รอบอ่างอาบน้ำ ที่นั่งอาบน้ำ หรือที่นั่งขับถ่าย ที่สามารถรับน้ำหนักได้ ประมาณ 250-300 ปอนด์
- ถ้ามีการติดตั้งห้อง (ตู้) อาบน้ำเล็กในห้องอาบน้ำใหญ่ ควรเป็นชนิดที่ไม่มีขอบมุมที่แหลมคม และกว้างอย่างน้อย 36 นิ้ว
- อ่างอาบน้ำ ควรต่ำกว่าปกติ ทั่วไปเพื่อง่าย ในการลงอาบ แช่ตัวของผู้สูงอายุ
- มีที่นั่งพับเก็บได้ในห้อง (ตู้) อาบน้ำเล็ก
- หัวฝักบัวที่ถือด้วยมือได้ และปรับลักษณะสายน้ำได้ง่าย และมีสายยางส่งน้ำยาวประมาณ 6ฟุต
- มีปุ่มปรับความแรงน้ำ ของอ่างอาบอยู่ตรงกลาง
- ห้อง (ตู้) อาบน้ำเล็ก ทำด้วยวัสดุที่ต่อต้านการสะสมตัวของเชื้อแบคทีเรีย
- มีไฟส่องสว่าง ในห้อง (ตู้) อาบน้ำเล็ก
- โถส้วม สูงกว่าโถส้วมมาตรฐานทั่วไป ประมาณ 2.5 นิ้ว (ปกติมาตรฐานคือ 17-19 นิ้ว) หรือเป็นแบบปรับระดับความสูงได้
- การออกแบบ ที่แขวนม้วนกระดาษชำระ ออกแบบให้สามารถเปลี่ยนม้วนกระดาษได้ ด้วยมือข้างเดียว
- มีอ่างซิงค์ แขวนผนังที่มีช่องว่างบริเวณเข่า และมีแผ่นป้องกันบดบังท่อน้ำ เพื่อความสวยงาม
- พื้นห้องน้ำหรือห้องอาบน้ำ ต้องเป็นแบบ พื้นป้องกันการลื่นล้มได้ง่าย
11. บริเวณบันได และลิฟท์
- มีที่จับยึดเกาะอย่างพอเพียง ทั้งสองด้านของบันได มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1.25 นิ้ว
- มีการเพิ่มศักยภาพ ในการมองเห็นด้วยการติดแถบสีเข้มตัดกัน ที่บันไดขั้นบนและล่าง และที่บริเวณขั้นบันได อีกทั้งเพิ่มไฟส่องสว่าง
- สำหรับบ้านที่มีหลายชั้น ควรเตรียมช่อง ไว้สำหรับติดตั้งลิฟต์ในอนาคต และช่องทางบันไดควรมีความกว้างอย่างน้อย 4 ฟุต
- มีลิฟต์ในที่อยู่อาศัย (ได้ก็จะดีมาก) ทางลาดเอียง
- ความลาดเอียง จะต้องไม่เพิ่มเกิน 1 นิ้วในทุกๆทางยาว 12 นิ้ว และจะต้องมีมือจับ สำหรับยึดเกาะ จำนวนที่เพียงพอ
- มีจุดพักขนาดประมาณ 5 ฟุต ที่ทางเข้า หรือทางออกจุดลาดเอียง
- มีขอบทาง ขนาดประมาณ 2 นิ้ว เพื่อความปลอดภัย
12. ห้องเก็บของ
- มีชั้นวางของ ที่สามารถปรับระดับได้
- มีไฟส่องสว่าง ภายในห้องเก็บของ
- มีประตูที่เปิดออกง่าย และไม่ขวางทาง จนเข้าถึงลำบาก
13. ระบบไฟฟ้า ระบบไฟส่องสว่าง และความปลอดภัย
- มีสวิตช์เปิดไฟส่องสว่าง ในทุกๆ ทางเข้าของห้องหรือห้องโถง
- มีเต้ารับหลอดไฟอย่างน้อย 2 ดวงที่จุดสำคัญ เช่นทางเข้าออก หรือห้องน้ำ
- สวิตซ์ไฟ สวิตซ์ที่ควบคุมอุณหภูมิ และสวิตซ์ตัวควบคุมสภาพแวดล้อม ควรจัดไว้ในที่ ที่สามารถเข้าถึงได้ง่าย คือไม่สูงไปกว่า 48 นิ้ว เหนือจากพื้น
- เต้าเสียบไฟฟ้า 15 นิ้วตรงกลางจากพื้น และห่างกันไม่เกิน 12 ฟุต
- มีพื้นที่ว่างขนาด 30 x 48 นิ้ว หน้าต่อสวิตซ์ ของตัวควบคุมต่างๆ
- ใช้สวิตซ์แบบ Rocker or touch light switches
- มีสัญญาณเตือน ทางเสียงและแสง เมื่อมีการกดกริ่งประตู หรือเมื่อมีโทรศัพท์เข้า หรือเมื่อสัญญาณเตือนควันไฟ หรือตัวตรวจจับคาร์บอนไดออกไซด์ ถูกกระตุ้น
- มีระบบความปลอดภัยชั้นสูง หรือระบบอินเตอร์คอม ที่สามารถเฝ้าดูตรวจจับ ความร้อน เครื่องทำความเย็น ระบบแสงสว่าง จากโทรทัศน์เครื่องใดๆ ภายในบ้าน
- มีตัวควบคุมอุณหภูมิ ที่สามารถมองเห็นได้ง่าย
- มีตัวควบคุมอุณหภูมิ ที่สามารถโปรแกรมล่วงหน้าได้
- มีไฟเตือนภาวะฉุกเฉิน ที่ชานบ้าน หรือมีปุ่มกดต่อโทรศัพท์ ไปศูนย์รับแจ้งเหตุฉุกเฉิน
- มีสายสัญญาณแจ้งเหตุ ต่อโดยตรงไปยัง สถานีตำรวจ สถานีดับเพลิง หรือ ศูนย์รับแจ้งเหตุฉุกเฉิน (อาจจะมีหรือไม่มีก็ได้ แต่ถ้ามีได้ก็จะดีมากๆ)
- มีสายสำหรับ กรณีเพื่อความปลอดภัยต่างๆ
- มีสายสำหรับ ใช้คอมพิวเตอร์
14. พื้น
- วัสดุทำพื้นที่เรียบ ไม่สะท้อนแสง ไม่ลื่นง่าย ทั้งในและนอกบ้าน
- ถ้าจะปูพรม ใช้พรมที่ไม่หนา คือมีความหนาแน่นต่ำ
- ใช้สี และลักษณะผิวเนื้อของพื้นผิว(หยาบ ขรุขระ ฯลฯ) ในการแยกความแตกต่างของพื้นผิวที่ต่างระดับออกไป
15. ระบบทำความร้อน การระบายอากาศ และระบบปรับอากาศ
- ควรเป็นระบบที่ออกแบบมาเพื่อให้ใช้งานง่าย -ควรเป็นระบบประหยัดไฟฟ้า
- ควรมีหน้าต่าง ที่สามารถเปิดเพื่อระบายอากาศ เพื่อทำให้อากาศบริสุทธิ์ สามารถไหลเวียนเข้ามาในบ้านได้
16. ระบบประหยัดพลังงาน
- สร้างบ้านที่มี ระบบกันความร้อนที่ผนัง
- ลดขนาดของเครื่องปรับอากาศ ด้วยการมีเตาผิง (สำหรับประทศเมืองหนาว)
- มีเครื่องถ่ายเทอากาศระบบกล สำหรับห้องนอนทุกห้อง และมีเครื่องตรวจจับ คาร์บอนมอนนอกไซด์ด้วย
- ติดตั้งหน้าต่าง ที่มีกระจก Low E glass คือกระจก แผ่รังสีต่ำ
17. ลดการบำรุงรักษา และการใช้งานได้ง่าย สะดวกสบาย
- ใช้พื้นผิวที่ง่ายต่อการทำความสะอาด
- ระบบดูดฝุ่นแบบศูนย์รวม
- มีระบบ ให้อาหารสัตว์เลี้ยง
- มีระบบ Recycling System
- มีระบบ วีดีโอโฟน
- มีระบบ อินเตอร์คอม
18. แนวคิดอื่นๆ
- มีอพาร์ตเมนต์ สำหรับให้เช่าเพื่อนำรายได้ มาใช้จ้างผู้ช่วยดูแลผู้สูงอายุ
- มีห้องเอนกประสงค์ ที่สามารถเปลี่ยนไปใช้ เพื่อวัตถุประสงค์ต่างๆ ที่เปลี่ยนไปตามการเวลา เช่น เป็นห้องอนุบาล ห้องสำหรับเล่น ของเด็กๆ หรือห้องทำงานในอนาคต