สารบัญ (Contents)
- อะไรคือ เอดส์ (Aids)
- อะไรคือ HIV
- ใครบ้างที่จะเป็นโรคเอดส์
- เชื้อ HIV แพร่กระจายได้อย่างไร
- การติดต่อทางการมีเพศสัมพันธุ์
- การใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน
- การติดผ่านทางการตั้งครรภ์
- การติดต่อทางการได้รับเลือดหรือผลิตผลจากเลือดที่มีเชื้อ
- เชื้อ HIV ไม่แพร่ทางไหน
- การตรวจภูมิต่อเชื้อ HIV (HIV Antibody Test)
- HIV Positive
- ระยะของการติดเชื้อ HIV
- การรักษา
- การป้องกันโรคเอดส์
อะไรคือ เอดส์ (Aids)
Acquired Immunodeficiency Syndrome (Aids) หรือ โรคเอดส์ เป็นโรคที่มีความรุนแรงมากโรคหนึ่ง เกิดขึ้นจากการที่ภูมิต้านทานของร่างกายถูกทำให้อ่อนแอลงอย่างมากจนทำให้ไม่ สามารถปกป้องคุ้มกันร่างกายของตนเองได้ จากการติดเชื้อต่างๆ เมื่อโรคเอดส์กัดกินร่างกายมากขึ้น ร่างกายของคนที่ติดเชื้อก็จะเต็มไปด้วยโรคที่ร้ายแรงต่อชีวิตมากมาย
อะไรคือ HIV
HIV คือไวรัสที่ทำให้เกิดโรคเอดส์ ชื่อของไวรัสนี้คือ Human Immunodeficiency Virus หรือเรียกอีกอย่างว่าเอดส์ไวรัส , HIV ทำลายภูมิต้านทานของร่างกายโดยการทำลายเซลล์ของระบบภูมิต้านทานคือ T–cell ซึ่งเซลล์นี้มีหน้าที่ในการปกป้องร่างกายจากโรคติดเชื้อและโรครุนแรงอื่นๆ รวมถึงโรคมะเร็งด้วย โรคเอดส์เกิดขึ้นหลังจากที่ T-cell ได้ลดจำนวนลงอย่างมากแล้ว
ใครบ้างที่จะเป็นโรคเอดส์
ใครก็ตามที่ติดเชื้อ HIV ในที่สุดแล้วจะกลายเป็นโรคเอดส์ และใครๆ ในโลกนี้ทุกคนสามารถที่จะติดเชื้อ HIV ได้ โดยไม่ขึ้นกับเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ ศาสนา สีผิว หรือเพศ เพียงแค่คนคนนั้นได้รับเชื้อไวรัสผ่านทาง เลือด สารคัดหลั่งจากอวัยวะเพศของทั้งชายและหญิง คนคนนั้นก็จะติดเชื้อได้ หรือแม้แต่เด็กทารกที่ยังไม่เกิดที่อยู่ในครรภ์ของแม่ที่ติดเชื้อก็สามารถ ติดเชื้อได้เช่นกัน
เชื้อ HIV แพร่กระจายได้อย่างไร
เชื้อไวรัส HIV นั้นดำรงชีวิตอยู่ในเซลล์เม็ดเลือดขาวชื่อ T-cell ซึ่งอยู่ในเลือด สารคัดหลั่งจากอวัยวะเพศชาย (Semen), สารคัดหลั่งจากอวัยวะเพศชาย ในน้ำนม หรือแม้แต่ในเลือดเมนส์ เชื้อนี้มีการติดต่อเมื่อมีการสัมผัสกับสารน้ำเหล่านี้ ทางที่พบบ่อยที่สุดคือผ่านทางการมีเพศสัมพันธุ์, การใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน, ผ่านทางแม่สู่ลูกในระหว่างการตั้งครรภ์, หรือการให้นมบุตร (เชื้อผ่านทางน้ำนม)
การติดต่อทางการมีเพศสัมพันธุ์
การติดต่อทางนี้เป็นการติดต่อที่พบบ่อยที่สุดของเชื้อ HIV โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อไม่ได้ใส่ถุงยางอนามัย และสารฆ่าสเปิร์ม การสัมผัสกับเลือดและสารคัดหลั่งที่ติดเชื้อ ทำให้เกิดการติดเชื้อขึ้นได้ รวมถึงการทำ Oral Sex ด้วย
การใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน
เป็นการติดเชื้อเมื่อมีการใช้เข็มฉีดยาร่วมกับคนที่ติดเชื้อ HIV เช่นพวกที่ฉีดยาเสพติดเข้าร่างกายตนเอง เช่น ฉีดเฮโรอีน โคเคน หรือแม้แต่สารสเตอรอยด์
การติดผ่านทางการตั้งครรภ์
สารคัดหลั่งที่มีเชื้อสามารถนำเชื้อไปติด ลูกได้โดยผ่านทาง ระหว่างอยู่ในครรภ์ ระหว่างการคลอด ระหว่างการให้นมบุตร เด็กที่เกิดจากมารดาที่ติดเชื้อ HIV จะติดเชื้อจากมารดาได้ ประมาณ 15-25 % ของเด็กกลุ่มนี้ทั้งหมด
การติดต่อทางการได้รับเลือดหรือผลิตผลจากเลือดที่มีเชื้อ
ในอดีตพบมีการติดเชื้อทางการได้รับเลือดที่มีเชื้อกันจำนวนไม่น้อย นับตั้งแต่ ปี คศ. 1985 มีการใช้การตรวจหาภูมิต้านทานของเชื้อ HIV ในการคัดกรองเลือดที่จะให้แก่ผู้ป่วย ในปัจจุบันจึงพบน้อยมากที่จะพบว่ามีคนติดเชื้อ HIV ผ่านทางการได้รับเลือด จนถือได้ว่าเลือดที่ได้รับบริจาคผ่านโรงพยาบาลหรือสภากาชาด เป็นเลือดที่ไม่มีความเสี่ยงต่อการกระจายเชื้อ HIV
เชื้อ HIV ไม่แพร่ทางไหน
แม้ว่าเชื้อ HIV จะพบได้ในน้ำลายและน้ำตา แต่เชื้อนี้จะไม่สามารถติดต่อทางการผ่านสารน้ำชนิดนี้ได้ และเชื้อนี้ไม่สามารถแพร่กระจายผ่านทาง การไอ การจาม การร้องไห้ หรือแม้แต่การสัมผัสกับเหงื่อของคนที่มีเชื้อก็ไม่ติดเชื้อ และการใช้ห้องน้ำ ใช้ห้องเปลี่ยนเสื้อผ้า ใช้ผ้าเช็ดตัว ใช้โทรศัพท์ ใช้ที่สาธารณะ การดื่มน้ำแก้วเดียวกัน การใช้เสื้อผ้าร่วมกัน การนอนที่นอนเดียวกัน การจูบกัน การกอดกันการสัมผัสกันตามธรรมดา ไม่สามารถที่จะติดเชื้อนี้ได้
การตรวจภูมิต่อเชื้อ HIV (HIV Antibody Test)
การตรวจแอนตี้บอดี้ (ภูมิ) ต่อเชื้อ HIV เป็นการตรวจเพื่อพิสูจน์การติดเชื้อไวรัส HIV โดยการหาภูมิแอนตี้บอดี้ที่มีต่อเชื้อ HIV ในกระแสเลือด จะพบภูมินี้ได้ หลังจากการได้รับเชื้อ ประมาณ 4-12 สัปดาห์ ผลที่เป็นบวก หมายถึงการมีแอนตี้บอดี้ต่อเชื้อนี้ในกระแสเลือด ผลที่เป็นลบ หมายถึงการไม่มีแอนตี้บอดี้ต่อเชื้อนี้ในกระแสเลือด ถ้าได้ผลที่เป็นบวก เรามักจะทำการตรวจยืนยันด้วยวิธีการตรวจแบบอื่นซ้ำอีกทีหนึ่งก่อน แม้ว่าจะตรวจพบการติดเชื้อในกระแสเลือดแล้วคนที่ติดเชื้ออาจจะไม่มี อาการใดๆเ ลยได้เป็นปีๆ เลยทีเดียว เพราะอย่างนี้ในคนที่มีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อนี้ ควรทำการตรวจเลือดพิสูจน์ดูแม้จะไม่มีอาการใดๆ ก็ตาม
HIV Positive
การมี HIV Positive หมายถึงการที่คุณจะมีเชื้อ HIV ในกระแสเลือดไปตลอดชีวิต และสามารถที่จะนำเชื้อไปติดคนอื่นได้ ผ่านทางการมีเพศสัมพันธุ์หรือการใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน คนที่มี HIV Positive ควรจะรักษาสุขภาพให้ดีอยู่เสมอเพราะแม้แต้ไข้หวัดธรรมดาก็สามารถที่จะร่วมกันกับเชื้อ HIV ทำให้ภูมิต้านทางของร่างการคุณอ่อนแอลงได้ คนที่ HIV Positive ทุกคนไม่จำเป็นต้องกลายเป็นโรคเอดส์ แต่ส่วนใหญ่จะกลายเป็นโรคเอดส์ และเกิดการติดเชื้อต่างๆ ตามมาได้เมื่อร่างกายมีภูมิต้านทานน้อยลง
ระยะของการติดเชื้อ HIV
1. ระยะการติดเชื้อเฉียบพลัน
ระยะนี้เกิดขึ้น 1-2 สัปดาห์หลังการได้รับเชื้อ ระยะนี้เชื้อไวรัสจะมีการแบ่งตัวและเพิ่มจำนวนเป็นจำนวนมาก
2. ระยะไม่มีอาการ (Asymptomatic HIV)
ระยะนี้จะไม่พบว่ามีอาการใดๆ เราใช้ การนับจำนวน T-cell ในการเฝ้าระวังการดำเนินไปของโรค ด้วยภูมิต้านทานของคนไข้เองและการใช้ยาต้านไวรัส ระยะนี้อาจจะยาวนานถึง 10-12 ปี
3. ระยะมีอาการ (Symptomatic HIV)
ระยะนี้มี 2 เฟส คือ
- Early phase ระยะนี้ อาจจะมีอาการ ไข้, มีการติดเชื้อราแคนดิด้า, ติดเชื้อ Herpes, หรือมีอาการเหงื่ออกกลางคืน
- Late phase ระยะนี้เริ่มต้นเมื่อ T-cell ลดจำนวนลงต่ำกว่า 200 เซลล์ต่อ ไมโครลิตร ในระยะนี้อาจจะมีโรคเกิดขึ้นดังต่อไปนี้ เช่น โรคแผลในกระเพาะอาหาร โรคหลอดอาหารอักเสบ โรคตับอักเสบ ตับอ่อนอักเสบ โรคงูสวัด โรคผื่นผิวหนังอักเสบ มีอาการคลื่นไส้ มีน้ำหนักลดอย่างมาก มีท้องเสียเรื้อรัง และพบมีการติดเชื้อฉวยโอกาสอย่างน้อยหนึ่งอย่าง
4. ระยะท้ายของโรค ( Advanced HIV )
ระยะนี้เริ่มต้นเมื่อ T-cell ลดจำนวนลงต่ำกว่า 59 เซลล์ต่อ ไมโครลิตร อาการในระนี้คือ มีอาการชักกระตุก, เพ้อ, อั้นปัสสาวะไม่ได้, ตาบอด, และโคม่า (หมดสติ) ในระยะนี้อัตราการตายสูงมาก
การรักษา
ในปัจจุบันยังไม่มีการรักษาให้หายขาดได้ การปฏิบัติตัวที่ดีและการได้รับยาต้านไวรัส สามารถทำให้ผู้ป่วยมีอายุยืนขึ้นได้มาก ในปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนสำหรับโรคนี้ การได้รับยาต้านไวรัสช่วยยืดเวลาในการที่จะเปลี่ยนจากการติดเชื้อ HIV ไปเป็นโรคเอดส์ และในปัจจุบันมียาใหม่จำนวนมากที่ใช้ในการป้องกันการติดเชื้อฉวยโอกาสต่างๆ ที่ได้ผลดีมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตามท่านควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านโรคเอดส์เพื่อขอรับคำ แนะนำในการรักษาโรคให้ถูกต้องยิ่งขึ้น
การป้องกันโรคเอดส์
- ไม่มีเพศสัมพันธุ์กับคนที่อาจจะมีความเสี่ยงต่อการมีเชื้อ HIV หรือถ้าจำเป็นจะต้องมีควรใส่ถุงยางอนามัยเพื่อป้องกัน (ป้องกันได้แต่ไม่ 100% )
- ไม่ใช้เข็มฉีดยาร่วมกับคนอื่น หรือถ้าจะให้ดี ไม่ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดเลยจะดีที่สุด
- รักษาร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ
- ถ้ามีการตั้งครรภ์ควรฝากครรภ์กับสถานพยาบาลแผนปัจจุบันที่ได้มาตรฐาน